วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดตัวชาเขียวยี่ห้อใหม่ มิเรอิ

กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies)

กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies)
ธุรกิจใช้วิจัยตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เฉพาะทางการตลาดบางอย่าง ขณะเดียวกันมักจะช่วยเพิ่มยอดขายและบรรลุถึงวัตถุประสงค์อีกด้วย อีกทั้งใช้การวิจัยเพื่อการศึกษาและติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และใช้ข้อมูลเพื่อเป็นฐานในการเปรียบเทียบการดำเนินงานของเรา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง

กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
ธุรกิจต่างๆ ล้วนแต่ต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น การทำวิจัยและพัฒนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ แม้ว่าจะต้องใช้การวางแผน การทดสอบ และการดำเนินงาน ตลอดจนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะทำให้ธุรกิจเรายืนอยู่แถวหน้าในอุตสาหกรรมได้ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขัน ถ้าเรากำหนดว่าจะการวิจัยและพัฒนา เราต้องทราบว่าจะทำการวิจัยและทดสอบอะไรบ้าง เช่น สินค้าใหม่, บรรจุภัณฑ์ใหม่, หรือประชาสัมพันธ์ใหม่ของโปรแกรมการตลาดต่างๆ

. กลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด (Spending Strategies)

กลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด (Spending Strategies)
กลยุทธ์ดังกล่าวจะบอกรายละเอียดค่าใช้จ่ายทางการตลาดนั้นว่า มีการใช้อย่างไร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอะไรบ้าง ต้องการเพิ่มยอดขายของตรายี่ห้อ ยอดขายของร้านค้า หรือยอดขายในเขตการขาย หรือใช้จ่ายไปเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ๆ ให้มาลองใช้ หรือลองซื้อสินค้าตรายี่ห้อของเรา ในการตัดสินใจเรื่องค่าใช้จ่ายนี้ เราต้องพิจารณาว่าจะใช้ในระดับใด สำหรับตรายี่ห้อตัวใด หรือตลาดใดหรือเขตการขายใด
การพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยรวม จัดว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในแผนนั้น สอดคล้องกับตัวเลขค่าใช้จ่ายในอดีตอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยเหตุผลอะไร รายละเอียดของค่าใช้จ่ายและงบประมาณจะปรากฎอยู่ในส่วนงบประมาณของแผนการตลาด

ตัวอย่างกลยุทธ์

เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาคิดเป็นร้อยละของยอดขายที่ตั้งไว้ โดยเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของผู้นำตลาด
ใช้จ่ายงบการตลาดอย่างมาก ยังสินค้าหลัก 3 ตัวของบริษัท เพื่อสร้างศักยภาพทางการตลาดสูงสุด

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

จรรยาบรรญของนักการตลาด

  ทางสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักจรรยาบรรณของนักการตลาดไว้ 7 ข้อ คือ
1.     รับผิดชอบต่อผลการกระทำของตนและพยายามทุกวิถีทางให้มั่นใจว่าการตัดสินใจหรือการกระทำใดๆ ของตนเป็นไปเพื่อบ่งชี้ตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้แก่กลุ่มสาธารณะที่เกี่ยวข้องโดยรวม


2.     ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทางสังคม


3.     ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ผู้ซื้อ ผู้ขาย ลูกจ้าง พนักงานและสาธารณชนทั่วไป


4.     กระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ร่วมอาชีพและบุคคลอื่น


5.     ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณ


6.     ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนคน


7.     ยินดีเผยแพร่ความรู้ความสามารถในวิชาชีพของตนเพื่อสาธารณประโยชน์

จริยธรรมของผู้บริหาร

จริยธรรมของผู้บริหาร
จริยธรรมที่กำหนดไว้สำหรับผู้บริหารอาจจะแตกต่างกันไปสำหรับองค์การ แต่
โดยทั่วไปจริยธรรมหลักของผู้บริหารองค์การ ประกอบด้วย
1.
ต่อองค์การ
ผู้บริหารจะต้องมีความศรัทธา ความผูกพัน ซื่อสัตย์สุจริต และความภักดี
2.
กว้างไกล
ผู้บริหารจะต้องบริหารงานด้วยความระมัดระวัง เอาใจใส่มีวิสัยทัศน์3.
4.
ผู้บริหารจะต้องบริหารงานด้วยความยุติธรรม และเพื่อประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องกับองค์การทุกฝ่าย เช่น เจ้าหนี้ ลูกค้า ผู้คือหุ้น และคู่ค่าขององค์การให้สอดคล้องกับปรัชญาหรือจริยธรรมขององค์การ
5.
ผู้บริหารจะต้องบริหารงานเพื่อประโยชน์ และความรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคมและประเทศชาติเป็นส่วนรวม
6.
รู้จักอุปการะ คือ ทำคุณทำประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น นึกถึงประโยชน์ของบุคคลอื่นเป็นที่ตั้งพร้อมที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่คนอื่นในงานหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนรวมทั้งดูแลทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา7.
8.
ผู้บริหารจะต้องมีจริยธรรม ที่ทำให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์
9.
มีพรหมวิหาร 4 คือ
9.1
มีความเมตตา ปราณนาจะให้บุคคลอื่นเป็นสุข
9.2
มีความกรุณา คิดหาทางจะช่วยเหลือคนอื่นพ้นทุกข์
9.3
มีมุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
9.4
มีอุเบกขา คือ การรู้จักวางเฉย การวางใจเป็นกลาง10.
11
. มีคุณธรรมที่เป็นเครื่องผูกน้ำใจบุคคลอื่นโดยทั่วไป
12.
การดื่มสุรา การพนัน การคบคนชั่วช้าเสเพล
ประพฤติตนให้ห่างจากอุบายมุข เช่น การไม่เป็นคนเจ้าชู้
13.
ไม่เป็นคนมีเสน่ห์หรือเชื่อถือไม่ได้
มีความจริงใจต่อผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาต่อบุคคลทั่วไป
14.
ไม่กระทำตนเป็นคนเบียดเบียนผู้อื่น ผู้ร่วมงานผู้ใต้บังคับบัญชา15.
รักษาความลับผู้ใต้บังคับบัญชา
มีความรอบรู้ หมั่นศึกษาหาความรู้รอบตัว
ไม่มีอคติใด ๆ ในการปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับและบุคคลทั่วไป
ผู้บริหารจะต้องมีความยุติธรรมต่อพนักงาน บริหารงานโดยไม่มีการลำเอียงเลือกที่รักมักที่ชัง