วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดตัวชาเขียวยี่ห้อใหม่ มิเรอิ

กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies)

กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies)
ธุรกิจใช้วิจัยตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เฉพาะทางการตลาดบางอย่าง ขณะเดียวกันมักจะช่วยเพิ่มยอดขายและบรรลุถึงวัตถุประสงค์อีกด้วย อีกทั้งใช้การวิจัยเพื่อการศึกษาและติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค และใช้ข้อมูลเพื่อเป็นฐานในการเปรียบเทียบการดำเนินงานของเรา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง

กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
ธุรกิจต่างๆ ล้วนแต่ต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น การทำวิจัยและพัฒนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ แม้ว่าจะต้องใช้การวางแผน การทดสอบ และการดำเนินงาน ตลอดจนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะทำให้ธุรกิจเรายืนอยู่แถวหน้าในอุตสาหกรรมได้ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขัน ถ้าเรากำหนดว่าจะการวิจัยและพัฒนา เราต้องทราบว่าจะทำการวิจัยและทดสอบอะไรบ้าง เช่น สินค้าใหม่, บรรจุภัณฑ์ใหม่, หรือประชาสัมพันธ์ใหม่ของโปรแกรมการตลาดต่างๆ

. กลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด (Spending Strategies)

กลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด (Spending Strategies)
กลยุทธ์ดังกล่าวจะบอกรายละเอียดค่าใช้จ่ายทางการตลาดนั้นว่า มีการใช้อย่างไร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอะไรบ้าง ต้องการเพิ่มยอดขายของตรายี่ห้อ ยอดขายของร้านค้า หรือยอดขายในเขตการขาย หรือใช้จ่ายไปเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ๆ ให้มาลองใช้ หรือลองซื้อสินค้าตรายี่ห้อของเรา ในการตัดสินใจเรื่องค่าใช้จ่ายนี้ เราต้องพิจารณาว่าจะใช้ในระดับใด สำหรับตรายี่ห้อตัวใด หรือตลาดใดหรือเขตการขายใด
การพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยรวม จัดว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในแผนนั้น สอดคล้องกับตัวเลขค่าใช้จ่ายในอดีตอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยเหตุผลอะไร รายละเอียดของค่าใช้จ่ายและงบประมาณจะปรากฎอยู่ในส่วนงบประมาณของแผนการตลาด

ตัวอย่างกลยุทธ์

เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาคิดเป็นร้อยละของยอดขายที่ตั้งไว้ โดยเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของผู้นำตลาด
ใช้จ่ายงบการตลาดอย่างมาก ยังสินค้าหลัก 3 ตัวของบริษัท เพื่อสร้างศักยภาพทางการตลาดสูงสุด

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

จรรยาบรรญของนักการตลาด

  ทางสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักจรรยาบรรณของนักการตลาดไว้ 7 ข้อ คือ
1.     รับผิดชอบต่อผลการกระทำของตนและพยายามทุกวิถีทางให้มั่นใจว่าการตัดสินใจหรือการกระทำใดๆ ของตนเป็นไปเพื่อบ่งชี้ตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้แก่กลุ่มสาธารณะที่เกี่ยวข้องโดยรวม


2.     ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทางสังคม


3.     ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ผู้ซื้อ ผู้ขาย ลูกจ้าง พนักงานและสาธารณชนทั่วไป


4.     กระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ร่วมอาชีพและบุคคลอื่น


5.     ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณ


6.     ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนคน


7.     ยินดีเผยแพร่ความรู้ความสามารถในวิชาชีพของตนเพื่อสาธารณประโยชน์

จริยธรรมของผู้บริหาร

จริยธรรมของผู้บริหาร
จริยธรรมที่กำหนดไว้สำหรับผู้บริหารอาจจะแตกต่างกันไปสำหรับองค์การ แต่
โดยทั่วไปจริยธรรมหลักของผู้บริหารองค์การ ประกอบด้วย
1.
ต่อองค์การ
ผู้บริหารจะต้องมีความศรัทธา ความผูกพัน ซื่อสัตย์สุจริต และความภักดี
2.
กว้างไกล
ผู้บริหารจะต้องบริหารงานด้วยความระมัดระวัง เอาใจใส่มีวิสัยทัศน์3.
4.
ผู้บริหารจะต้องบริหารงานด้วยความยุติธรรม และเพื่อประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องกับองค์การทุกฝ่าย เช่น เจ้าหนี้ ลูกค้า ผู้คือหุ้น และคู่ค่าขององค์การให้สอดคล้องกับปรัชญาหรือจริยธรรมขององค์การ
5.
ผู้บริหารจะต้องบริหารงานเพื่อประโยชน์ และความรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคมและประเทศชาติเป็นส่วนรวม
6.
รู้จักอุปการะ คือ ทำคุณทำประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น นึกถึงประโยชน์ของบุคคลอื่นเป็นที่ตั้งพร้อมที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่คนอื่นในงานหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนรวมทั้งดูแลทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา7.
8.
ผู้บริหารจะต้องมีจริยธรรม ที่ทำให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์
9.
มีพรหมวิหาร 4 คือ
9.1
มีความเมตตา ปราณนาจะให้บุคคลอื่นเป็นสุข
9.2
มีความกรุณา คิดหาทางจะช่วยเหลือคนอื่นพ้นทุกข์
9.3
มีมุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
9.4
มีอุเบกขา คือ การรู้จักวางเฉย การวางใจเป็นกลาง10.
11
. มีคุณธรรมที่เป็นเครื่องผูกน้ำใจบุคคลอื่นโดยทั่วไป
12.
การดื่มสุรา การพนัน การคบคนชั่วช้าเสเพล
ประพฤติตนให้ห่างจากอุบายมุข เช่น การไม่เป็นคนเจ้าชู้
13.
ไม่เป็นคนมีเสน่ห์หรือเชื่อถือไม่ได้
มีความจริงใจต่อผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาต่อบุคคลทั่วไป
14.
ไม่กระทำตนเป็นคนเบียดเบียนผู้อื่น ผู้ร่วมงานผู้ใต้บังคับบัญชา15.
รักษาความลับผู้ใต้บังคับบัญชา
มีความรอบรู้ หมั่นศึกษาหาความรู้รอบตัว
ไม่มีอคติใด ๆ ในการปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับและบุคคลทั่วไป
ผู้บริหารจะต้องมีความยุติธรรมต่อพนักงาน บริหารงานโดยไม่มีการลำเอียงเลือกที่รักมักที่ชัง

การตลาดเพื่อสังคม

" การตลาดเพื่อสังคม "
 
        ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา หลายท่านคงเห็นองค์กรต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐ ทำความดีกันมากมายเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ หรือว่ามอบทุนการศึกษาสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ทางด้านกีฬาและดนตรี กิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า "CSR" ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหมู่ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย วันนี้จึงจะขออธิบายถึงความหมายของ  CSR ว่าคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.asamedia.org/2010/06/3038/
 
        CSR  มาจากคำว่า corporate social responsibility แปลว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
 
        ในระดับใกล้ สิ่งแรกคือ ลูกค้า ความรับผิดชอบต่อลูกค้าก็คือ เน้นการสร้างคุณค่ามากกว่ามูลค่า เช่น ไม่ซื้อของถูกมาขายแพง  และการให้ข้อมูล เช่น เรื่องของผลิตภัณฑ์จะต้องถูกต้องเที่ยงตรง ไม่เป็นการโฆษณาเกินความจริง สิ่งที่สองคือ คู่ค้า ผู้ที่เราจะไปทำธุรกิจร่วมด้วย เช่น ซื้อของเขาเอามาผลิต เราก็ต้องไม่เอาแต่ประโยชน์ของตัวเอง ไม่กดราคาจนต่ำ ไม่เอารัดเอาเปรียบคู่ค้าของเรา
 
 
 
        ในระดับไกล สิ่งแรกคือ ชุมชน คือ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชน การทำสังคมสงเคราะห์ต่างๆ  สิ่งที่สอง คือ กลุ่มประชาสังคม ได้แก่ การพัฒนาสังคม   การส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน  และความรับผิดชอบด้านการเสียภาษี สิ่งสุดท้ายคือ คู่แข่งทางธุรกิจ แม้แต่คู่แข่งเราก็ต้องทำ CSR ด้วย คือ 1. การปฏิเสธการใช้สินบน  2. ไม่ทำลายคู่แข่งโดยการทุ่มตลาด จนคู่แข่งอยู่ไม่ได้ต้องล้มไป  3. การต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
 
ประโยชน์ของ CSR แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ในทางรูปธรรม และในทางนามธรรม
 
       ในทางรูปธรรม คือ ผู้ถือหุ้นจะได้เสถียรภาพส่วนต่างมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น สาเหตุที่ได้ตรงนี้เพราะองค์กรที่นำ  CSR ไปใช้จะส่งผลให้องค์กรนั้นๆ มีความมั่นคง มีภาพลักษณ์ดีงาม  พนักงานก็มีความภาคภูมิใจในองค์กร องค์กรเองก็จะมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น อีกทั้ง  CSR ยังมีประโยชน์ในการลดรายจ่ายในบางกิจกรรม เช่น โรงไฟฟ้าไปทำกิจกรรมรณรงค์ให้ชาวบ้านช่วยกันประหยัดพลังงาน ผลที่ได้ก็คือ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้านั่นเ อง
 
        ในนามธรรม ได้แก่ ในส่วนขององค์กรจะทำให้ภาพลักษณ์สินค้าดีขึ้น และภาพลักษณ์องค์กรดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 
        ประเภทของ  CSR มี 3 ประเภทด้วยกันคือ
 
1. CSR – after - process หมายถึง การทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น เวลามีผู้เสียหายได้รับผลกระทบจากผู้ประกอบการก็ทำโครงการเยียวยาเข้าไปช่วยเหลือ
 
2. CSR – in – process หมายถึง การทำธุรกิจเพื่อสังคม หากำไรด้วยความรับผิดชอบ
 
3. CSR – as – process หรือ Social Profit Organization เช่น องค์กรกลุ่มทำวิจัยที่วิจัยเรื่องวิตามินว่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์ ซึ่งผู้ทำวิจัยก็ไม่ได้ประโยชน์เพียงผู้เดียว แต่ประชาชนก็ได้ความรู้ด้วย
 
        ส่วนเรื่อง CSR ในทางธรรม จะเป็นแนวคิดของธุรกิจและสังคม ว่าจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ธุรกิจควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร ตรงนี้ให้มอง 2 อย่างคือ เจ้าของธุรกิจ และตัวธุรกิจ ถ้าหากมองในทางพุทธกาลแล้ว เจ้าของธุรกิจที่สังคมจะยกย่องก็คือเศรษฐีที่มีน้ำใจ เช่น มีการตั้งโรงทาน 4 มุมเมือง  แต่เศรษฐีที่ไม่ยอมใช้ทรัพย์เพื่อสังคมผู้คนจะไม่ยกย่อง ดังนั้นจึงเป็นแรงขับเคลื่อนจากกระแสสังคมให้เศรษฐีทั้งหลายมีน้ำใจต่อส่วนรวม
 
        การทำมาค้าขายในอาชีพสุจริตสังคมจะยกย่องสรรเสริญ จึงควรหลีกเลี่ยงธุรกิจที่เบียดเบียนส่วนรวม เช่น ค้าเกี่ยวกับอบายมุข ขายน้ำเมา ขายยาพิษ ค้าอาวุธ ธุรกิจที่ได้จากการเปิดบ่อนการพนัน เป็นต้น ธุรกิจเช่นนี้ไม่น่าสรรเสริญ เพราะฉะนั้นเจ้าของธุรกิจและตัวธุรกิจต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งสองส่วน โดยการอาศัยกระแสสังคมเป็นตัวขับเคลื่อน เช่น ตอนนี้มีกระแสในอเมริกา คือ บิล เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ เจ้าของธุรกิจ Microsoft และคอมพิวเตอร์ ออกมาช่วยกันว่าควรจะบริจาคทรัพย์ตัวเองอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ ให้กับส่วนรวมหรือมูลนิธิ เป็นต้น โดยบิล เกตส์เองก็ได้ตั้งมูลนิธิขึ้นมา แล้วบริจาคทรัพย์เข้ามูลนิธิเกินครึ่งที่ได้ ส่วนวอร์เรน ก็เอาทรัพย์สินตัวเองกว่าค่อนมามอบให้มูลนิธิของบิลเกตส์ เพื่อนำมาช่วยเหลือและพัฒนาสังคม โดยตอนนี้มีผู้ทำตามอีกจำนวนมากเลยทีเดียว   และนี่คือแง่มุมในด้านเจ้าของธุรกิจ
 
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.stock2morrow.com/showthread.php?
 
        ส่วนตัวธุรกิจนั้น ต้นทุนทางสังคมมีความสำคัญมาก มีตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีบริษัทหนึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตนมอันดับหนึ่งของประเทศ แต่ไม่ได้ทำ CSR อย่างจริงจังเท่าที่ควร พอถึงคราวเกิดปัญหา เครื่องจักรของโรงงานพนักงานทำความสะอาดไม่ดี จนทำให้นมปนเปื้อนเชื้อ E.coli ทำให้ผู้บริโภคท้องเสีย พอกระแสข่าวแพร่สะพัดไปในระยะเวลาไม่นาน ก็ส่งผลให้ผู้คนเลิกซื้อนมจากบริษัทนี้ ส่งผลให้ธุรกิจล้มเหลวภายในเวลาชั่วพริบตาเดียว เพราะไม่มีต้นทุนทางสังคมมารองรับ  หากมีต้นทุนทางสังคมสูงก็พอจะช่วยไว้ได้ ดังนั้นความรับผิดชอบต่อสังคมจงทำไปเถิดจะเกิดประโยชน์อย่างจริงแท้ และแน่นอน
 
        สรุปโดยรวมก็คือว่า แนวคิดเรื่องการทำธุรกิจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ทาน ศีล และภาวนา ทานคือการแบ่งปันผลที่ได้สู่สังคมในทุกๆ ระดับ ศีล คือไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่รังแกธุรกิจที่เล็กกว่าจนทำให้เขาล้มเหลว แต่ควรแข่งขันกันตามเกมส์ ไม่เล่นใต้โต๊ะ ไม่เบียดเบียนสังคม ไม่ขายสินค้าปลอมปน สินค้าไม่มีคุณภาพต่างๆ และขณะเดียวกันก็ให้รู้จักสงบใจ ให้ส่งเสริมเรื่องการปฏิบัติธรรม ซึ่งตอนนี้กระแสการทำสมาธิ(Meditation)กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย
 
 
ประมวลรวมแนวคิดในการทำธุรกิจคือ
ทางโลก  =  CSR
ทางธรรม  =  ทาน ศีล ภาวนา
 
        สุดท้ายนี้การทำดี เช่น การทำดีเพื่อเป็นการรับผิดชอบก็มี การทำดีเพื่อเอาหน้าก็มี การทำดีเพื่อปกปิดความไม่ดีก็มี เช่น ไปผลิตเหล้า เบียร์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคม แต่สุดท้ายไปทำ CSR เพื่อหวังให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น อย่างนี้ไม่น่ายกย่อง แต่ การทำดีเพื่อความดี เพื่อความรับผิดชอบที่แท้จริงต่อสังคมนี่แหละจึงจะเป็นการทำความดีที่ดีที่สุด
 

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การขายโดยผ่านคนกลาง

การขายโดยผ่านคนกลาง (Indirect Selling)
คือการที่ผู้ผลิตสินค้า ผู้นำเข้าสินค้า ขายสินค้าโดยผ่านบุคคลอื่น ก่อนที่จะถึงผู้บริโภค และบุคคลอื่นหรือคนกลางก็จะนำสินค้าไปสู่ผู้ใช้สินค้าหรือผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง การขายโดยผ่านคนกลางจะทำในกรณีที่กลุ่มผู้ซื้อมีจำนวนมากและอยู่กระจัดกระจาย ผู้บริโภคอยู่ห่างไกลจากผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถให้การบริการแก่ลูกค้าของตนเองได้ทั่วถึงและเพื่อให้การบริการลูกค้าที่ดีมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการมอบหมายให้คนกลาง (Middleman) ช่วยในการให้การบริการดูแลลูกค้าให้เป็นอย่างทั่วถึง อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นในการดำชีพของประชาชน ในชีวิตประจำวัน อันได้แก่
ข้าว อาหารทั้งสดและแห้ง ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน แป้ง ยาสระผม ผู้บริโภคจะซื้อจากร้านค้าปลีก ร้านขายของชำ ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสรรพสินค้า ร้านค้าในตลาด หรือการขายสินค้าแก่โรงงานอุตสาหกรรม ก็ยังจำเป็นต้องใช้คนกลาง เช่น ชาวไร่มันสำปะหลัง บางรายอาจต้องขายหัวมันให้หัวคิวที่จะนำไปขายให้โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังอีกต่อหนึ่ง ซึ่งหัวคิวก็ทำหน้าที่เหมือนคนกลาง เนื่องจากชาวไร่ไม่มีโควต้าขายมันให้แก่โรงงาน จึงต้องขายต่อสำปะหลังอีกต่อให้แก่คนที่มีโควต้าขายมันให้กับโรงงานต่าง ๆ หรือการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ ผู้ผลิตไม่สามารถติดต่อกับผู้ซื้อ ในต่างประเทศได้ จึงจำเป็นต้องขายสินค้าของตนเองผ่านคนกลางหรือนายหน้า หรือบริษัทธุรกิจส่งออก จะเป็นว่าคนกลางมีส่วนช่วยขยายตลาดการค้าให้กว้างออกไป ช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้า และยอดขายให้แก่ผู้ผลิตทั้งยังมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบาย ตลอดจนความรวดเร็วในการซื้อสินค้าแก่ผู้บริโภค คนกลางจึงมีประโยชน์ต่อการจัดจำหน่ายสินค้าทุกประเภทจากผู้ผลิต อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์แก่ผู้บริโภคอีกด้วย

คนกลางจำแนกได้หลายประเภทตามลักษณะการปฏิบัติงาน คือ

     (1) พ่อค้าส่ง (Wholesalers) หรือ (Jobber) คือ คนกลางที่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือคนกลางอื่นแล้วนำไปขายต่อให้กับผู้ผลิต โรงงานอุตสาหกรรม พ่อค้าคนกลางอื่น ๆ ยกเว้นผู้บริโภคคนสุดท้าย (Final Cinsumers) พ่อค้าส่งจะมีกรรมสิทธิ์ในสินค้าซื้อมา พ่อค้าส่งส่วนมากจะมีพนักงานขายเป็นของตนเองในการติดต่อค้าขาย พ่อค้าส่งมี หลายประเภท ได้แก่
1.1. พ่อค้าส่งทั่วไป (Generally Wholesaler) จำหน่ายสินค้าประเภทร้านขายอาหาร เครื่องกระป๋องเครื่องใช้ เป็นต้น
1.2.พ่อค้าส่งเฉพาะอย่าง (Specialty Wholesaler) ขายสินค้าชนิดเดียว เช่น เสื้อกีฬา ผ้าฝ้าย เครื่องเทศ หมวก เครื่องแกง
 1.3.พ่อค้าส่งรถบรรทุก (Wagon Wholesaler) จะใช้รถบรรทุกสินค้าไปจำหน่ายสินค้าแก่ลูกค้าตามเส้นทางที่ลูกค้าตาม
เส้นทางที่ลูกค้าอาศัยอยู่ เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร
     1.4.พ่อค้าส่งชนิดเงินสด (Cash and Carry Wholesaler) จะขายสินค้าตามแหล่งชุมชนโดยเป็นสินค้าที่ขายง่าย ได้แก่เสื้อผ้า อาหาร โดยคนซื้อมักไปหาผู้ซื้อเอง เช่น แม่ค้าดอกไม้ไปซื้อดอกไม้ที่ตลาดปากคลองตลาด แม่ค้าขายเสื้อผ้าไปซื้อผ้ามาจำหน่ายที่ตลาดมหานาค
(2) พ่อค้าปลีก (Retailers) คือ คนกลางที่ซื้อสินค้าจากโรงงานผู้ผลิต พ่อค้าส่ง แล้วนำไปจำหน่ายแก่ผู้บริโภคคนสุดท้าย
(Final Cinsumers) อาจเป็นร้านสรรพสินค้า ร้านยา ร้ายขายอาหาร ร้านเสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ คือเป็นร้านค้าปลีก โดยร้านค้า
สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
2.1. กิจการพ่อค้าคนเดียว (Independent Store) ได้แก่ ร้านตัดผม ร้านอาหาร ร้านเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ร้านประเภทนี้มี 90% ของร้านทั้งหมด
2.2.ร้านสาขา (Multi Independent Store) เป็นร้านที่เจ้าของมีสาขา 1,2,3.........สาขา เพื่อช่วยในการจำหน่ายในแต่ละเขต
 2.3.ร้านแบบลูกโซ่ (Chain Store) เป็นร้านที่มีลักษณะดังนี้
          2.3.1.มีเจ้าของคนเดียว
          2.3.2.มีร้านค้ามากกว่า 4 แห่งขึ้นไป
          2.3.3.ตกแต่งร้านทั้งหมดเหมือนกันทุกร้าน
          2.3.4.จำหน่ายสินค้าแบบเดียวกัน
          2.3.5.มีร้านใหญ่ (Central Buying) ที่สามารถแบ่งย่อยสินค้าไปขายในร้านที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกลงมาก                                                                                                                               2.3.6.แต่ละร้านจะกำหนดราคาของสินค้าเป็นมาตรฐานเดียวกัน
 (3) ตัวแทน (Agents) คือ คนกลางที่ขายสินค้าแทนผู้ผลิต โดยมิได้ถือตามสิทธิ์ในสินค้านั้น ตัวแทน มิได้ซื้อสินค้ามาขายไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้า มีหน้าที่เพียงนำผู้วื้อผู้ขายมาติดต่อกันเป็นผลสำเร็จ ก็จะได้รับค่าตอบแทนเป็นธรรมเนียม (Fee) ตัวแทนได้แก่ตัวแทนจำหน่าย ตัวแทนผู้ประกอบการ หรือเอเย่นขายรถยนต์ จักรยานยนต์ หรือตัวแทนขายประกันชีวิต เป็นต้น
 (4) นายหน้า (Brokers) คือ คนกลางที่ทำหน้าที่ชักนำให้ผู้ขายกับผู้ซื้อมาพบปะ เพื่อตกลงซื้อขายกัน การทำงานคล้ายกับพ่อค้า นายหน้าอาจเป็นตัวแทนผู้ซื้อ หรือผู้ขาย แต่หากเป็นตัวแทนผู้ซื้อจะได้ค่าธรรมเนียมจากผู้ซื้อ แต่หากเป็นตัวแทนฝ่ายขายจะได้ค่าธรรมเนียมจากผู้ขาย
ที่มา
http://lpn.nfe.go.th/web_lpn3/lesson1_3.htm






         
                  
           
       





การเลือกทำเลที่ตั้ง

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ
      ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบใช้ในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ มีดังนี้

      1. แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ
          การตั้งสถานประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม ส่งที่นำมาใช้ในการผลิต คือ วัตถุดิบ เช่นโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง วัตถุดิบ คือ อะไห่และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ วัตถุดิบ คือ ไม้ ฯลฯ ดังนั้นในการจัดตั้งสถานประกอบการธุรกิจ จึงต้องคำนึงถึงแหล่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต ควรจะอยู่ในแหล่งวัตถุดิบหรืออยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เพื่อสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งย่อมลดลง เช่น โรงงานผลิตปลากระป๋อง ควรตั้งอยู่ใกล้ ชายฝั่งทะเลจะได้วัตถุดิบราคาถูก คุณภาพดี แต่ถ้าโรงงานผลิตปลากระป๋องตั้งอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเลมากวัตถุดิบที่จัดหาอาจไม่มีหรือมีจำนวนน้อยทำให้วัตถุดิบราคาสูง คุณภาพไม่ดี และต้องเสียค่าขนส่งสูง เป็นต้น นอกจากนั้น ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติด้วย เช่น น้ำ อากาศ เนื่องจากในการผลิต ส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ำ กิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการนำน้ำมาใช้ใน การผลิต ในการตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แม่น้ำ ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมด้วย เช่น ในการผลิตจะมีของเสียจากการผลิต โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีระบบในการกำจัดน้ำเสีย ไม่ถ่ายเทน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลองหรือเปลี่ยนสภาพจากน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะ ถ่ายเทลงในแม่น้ำคลอง กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมเมื่อทำการผลิตแล้ว มีฝุ่นละอองหรือควันเสีย จะต้องทำการป้องกันมิให้อากาศเป็นพิษด้วย การประกอบการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นประเภทพาณิชยกรรม หรือประเภทอุตสาหกรรมการเลือกทำเลที่ตั้ง สถานที่ประกอบการจะ ต้องคำนึงถึงแหล่งจัดซื้อ เพื่อให้การจัดซื้อได้สินค้าหรือวัตถุดิบราคาที่เหมาะสม เสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อต่ำ คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นตาม ที่ต้องการ และได้ทันเวลาที่มีความต้องการของตลาดหรือการผลิต ในการจัดซื้อเพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนดังนี้

          1.1 กำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการซื้อทั้งคุณภาพและปริมาณ
          1.2 สำรวจแหล่งขาย โดยผู้ประกอบการจะต้องทราบถึงแหล่งขายสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการจัดซื้อว่าอยู่ที่ใด มีผู้ขายกี่ราย แต่ละรายกำหนดราคาขายเท่าไร คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขในการขายอย่างไรบ้าง เมื่อสำรวจแหล่งขายแล้ว คาดว่าจะจัดซื้อ จากผู้ขายรายใด ควรมีการเจรจาตกลงในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดซื้อ ในกรณีจัดซื้อครั้งละเป็นจำนวนมาก การเจรจาระหว่าง ผู้จัดซื้อและผู้ขาย ควรจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการเป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
           1.3 การสั่งซื้อ หลังจากได้มีการเจรจาตกลงกันแล้ว ผู้จัดซื้อจัดทำใบสั่งซื้อ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วัน เดือน ปี ที่สั่งซื้อ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้จัดซื้อ ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขในการส่งมอบ เงื่อนไขในการชำระเงิน
            1.4 การรับสินค้าหรือวัตถุดิบ เมื่อผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้จัดซื้อ จะต้องมีใบกำกับสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ที่ส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้สั่งซื้อ ผู้จัดซื้อจะต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ได้รับให้ตรงตามใบสั่งซื้อและใบกำกับสินค้า


           2. แหล่งแรงงาน
แรงงาน หมายถึง สิ่งที่ได้จากความสามารถของมนุษย์ทั้งแรงงานที่ได้จากแรงกายและแรงงานที่ได้จากความคิด เพ่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการตามที่ต้องการ แรงงานที่ผู้ประกอบการต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               2.1 แรงงานที่มีฝีมือ หรือแรงงานที่มีความชำนาญ (Skilled Labour)
               2.2 แรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานทั่วไป (Unskilled Labour) ผู้ประกอบการจะมีความต้องการแรงงานประเภทใด จะรู้ได้โดยการจัดทำรายละเอียดหน้าที่ของตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่ง ต้องการแรงงานจำนวนเท่าใด และเมื่อใด โดยการเสนอจากแต่ละหน่วยงานในองค์การธุรกิจ ในการจัดหาสถานที่ประกอบการ ต้องคำนึงถึง แหล่งแรงงานที่ธุรกิจมีความต้องการ ซึ่งควรจะเป็นแหล่งที่จัดหาแรงงานได้ง่าย อัตราค่าจ้างต่ำและมีคุณภาพตามที่ต้องการ เช่น ในการดำเนินกิจการโรงงานผลิตปลากระป๋อง แรงงานที่ต้องการใช้ส่วนใหญ่เป็นประเภทแรงกาย แรงงานไร้ฝีมือ สถานที่ประกอบการตั้งในต่างจังหวัดจะหา แรงงานได้ง่าย และอัตราค่าจ้างต่ำ แต่ถ้าเป็นโรงงานผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย แรงงานที่ใช้เป็นประเภทแรงงานที่ใช้ ความคิด แรงงานที่มีความชำนาญ สถานที่ประกอบการควรตั้งในเมืองใหญ่หรือใกล้เมืองใหญ่ จึงจะหาแรงงานได้ตามที่ต้องการ

              3 ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
                 การเลือกสถานที่ประกอบการ จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ดังนี้
                 3.1 ค่าขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานเพื่อทำการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ผลิตส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมากและต้องใช้ในปริมาณที่สูงการเลือกสถานที่ประกอบการจึงควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบเพื่อเสียค่าขนส่งในอัตราที่ถูก แต่ถ้าไม่ตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แหล่งวัตถุดิบ ก็ควรพิจารณาระบบการขนส่งที่เหมาะสม เพื่อให้วัตถุดิบไปยังโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
                 3.2 ค่าขนส่งสินค้าไปเพื่อเก็บรักษา เมื่อผลิตสินค้าเสร็จก่อนนำออกจำหน่ายสินค้าจะต้องได้รับการดูแลรักษาในสภาพที่เหมาะสมเพื่อคุณภาพที่ดีของสินค้าสถานที่ประกอบการควรอยู่ใกล้คลังเก็บสินค้า เพื่อสะดวกในการขนสินค้าจากโรงงานไปเก็บรักษาในคลังสินค้า และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
                  3.3 ค่าขนส่งสินค้าออกจำหน่าย เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค การเลือกสถานที่ประกอบการ ควรตั้งให้ใกล้แหล่งผู้บริโภค และประหยัดค่าใช้จ่าย

             4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
                การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ ควรคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้
                4.1 สาธารณูปโภค การเลือกสถานที่ประกอบการควรคำนึงถึงระบบการให้บริการด้านการประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และการส่งไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม หรือประเภทซื้อขายสินค้า เพราะเครื่องอำนวยความสะดวกดังกล่าว มีส่วนทำให้การประกอบธุรกิจมีความคล่องตัวสูง
                4.2 สถานพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง การเลือกสถานที่ประกอบการควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการขนส่งในการเดินทาง

            5. แหล่งลูกค้า
               สำหรับการประกอบกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม การจำหน่ายสินค้าจะจำหน่ายครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้มาซื้อคือ ผู้ค้าคนกลาง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเลือกสถานที่ตั้งใกล้ผู้บริโภคโดยตรง แต่ถ้าเป็นการประกอบกิจการประเภทผู้ค้าคนกลางที่ต้องจำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภคโดยตรงควรเลือกสถานที่ตั้งใกล้ผู้บริโภค เพื่อความสะดวกในการจำหน่ายและเสียค่าขนส่งต่ำ

           6. กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ
                การเลือกสถานที่ประกอบการจะต้องศึกษากฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของสถานที่ประกอบการ เพื่อไม่ให้การประกอบการ นั้นขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือประเพณีอันดีงามของสถานที่นั้น เช่น ในประเทศไทย พื้นที่สีเขียวจะกำหนดไว้สำหรับการประกอบการ เกษตร จะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่สีเขียวไม่ได้ เป็นต้น

             7. แหล่งเงินทุน
                 การเลือกสถานที่ประกอบการต้องคำนึงถึงเงินทุนที่ต้องใช้ ได้แก่ ราคาที่ดิน อัตรา ค่าแรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมและภาษีที่ต้องจ่ายให้องค์การของรัฐใน การดำเนินการจัดตั้งสถานที่ประกอบการ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเลือกสถานที่ประกอบการทั้งสิ้น จากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ประกอบการ โดยผู้ประกอบการควรคำนึงถึงผลตอบแทน ที่คาดว่าจะได้รับจากการตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบ โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
                   7.1 ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบการ ต้องคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ เกิดขึ้นในการเลือกสถานที่นั้นเป็นสถานประกอบการ เช่น การประกอบการโรงงานผลิตไม้แปรรูป วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม้แปรรูป คือ ซุงซึ่งเป็นวัตถุดิบมีน้ำหนักมาก การขนส่งค่อนข้างยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ส่วนสินค้าสำเร็จรูป คือ ไม้แปรรูปมีน้ำหนักเบากว่าวัตถุดิบ การขนส่งค่อนข้างสะดวก และเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า สถานที่ประกอบการโรงงานผลิตไม้แปรรูป จึงควรตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่าตั้งใกล้ ผู้บริโภค เพราะจะทำให้เสียค่าขนส่งที่ถูกกว่า กรณีหาสถานที่ประกอบการในแหล่งวัตถุดิบไม่ได้ก็ควรหาสถานที่ตั้งใกล้แม่น้ำ เนื่องด้วยการขนส่ง ซุงสามารถใช้วิธีล่องซุงมาตามแม่น้ำ ทำให้เสียค่าขนส่งต่ำ นอกจากต้นทุนค่าขนส่งแล้ว ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจ เลือกสถานที่ประกอบการ ได้แก่ ค่าแรงงาน อัตราภาษี ค่าบริการต่าง ๆ
                     7.2 กำไรที่สูงสุด การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบการ นอกจากคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดแล้วควรคำนึงถึงรายรับประกอบการตัดสินใจด้วยหากสามารถตั้งสถานประกอบการในแหล่งที่ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายรวมต่ำกว่า ก็จะมีโอกาสหา รายรับได้มากกว่าคู่แข่ง จะทำให้ได้เปรียบ คือ กำไรสูงสุด
                      7.3 การเรียนลำดับปัจจัยต่าง ๆ ตามความสำคัญ เนื่องจากปัจจัยแต่ละปัจจัยมีความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการประกอบการแต่ละประเภท ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องจัดลำดับความสำคัญ และรวมคะแนนแล้วจึงตัดสินใจเลือกสถานที่ประกอบธุรกิจจากการพิจารณาคะแนนที่สูงสุด
ที่มา  http://lpn.nfe.go.th/e_learning/LESSON6/unit6_1.htm

การกำหนดราคา

การกำหนดราคา
ราคา หมายถึง มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงออกมาในรูปจำนวนเงิน หรือ เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนในรูปเงินตรา
มูลค่า หมายถึง อำนาจของผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนกับ สินค้าอีกชนิดได้โดยแสดงออกมาในรูปเชิงปริมาณ

ปัจจัยที่ควรคำนึงในการกำหนดราคา

1. ปัจจัยภายใน
2. ปัจจัยภายนอก

1. ปัจจัยภายใน

1. วัตถุประสงค์ขององค์การ (Company Objective) องค์การหรือบริษัทจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการดำเนินกิจการ แล้วจึงกำหนดราคาเพื่อให้ สอดคล้องกัน

2. ลักษณะและประเภทของสินค้า (Character of Product) เช่น สินค้าเกษตรกรรมนอกฤดูจะขายราคาแพงกว่าปกติมาก

3. ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดราคาขั้นต่ำสุด

2. ปัจจัยภายนอก

1. คำนึงถึงอุปสงค์ (Demand) ของตลาดว่ามีความต้องการเสนอซื้อสินค้ามาก
เท่าใดและอุปสงค์ ของสินค้านั้นมีความยืดหยุ่นต่อราคาเป็นอย่างไร
2. สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
3. กฎหมายและรัฐบาล
4. จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ
5. สภาพการแข่งขัน
6. คำนึงถึงพ่อค้าคนกลาง ผู้ผลิตตั้งราคาให้เขาสามารถขายได้
7. ผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. พิจารณาด้านกำไร (Profit Oriented Objectives)
2. พิจารณาด้านการขาย (Sales Oriented Objectives)
3. เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา (Stabilize Price Objectives)

1. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไร
วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไรนั้นหมายความว่า ใช้กำไรเป็นตัวกำหนด หรือหลักในการพิจารณาว่าราคาควรอยู่ระดับใดแบ่ง
ได้ 2 อย่างคือ

1.1 เพื่อได้ตอบแทนตามเป้าหมาย (Target Return) คือเป็น การตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่าต้องการกำไรเป็นจำนวนเงินคงที่เท่าใด อาจคิดเป็นจำนวนเงินหรือคิดเป็นกำไรเป็นร้อยละเท่าใดจากเงินลงทุน หรือร้อยละราคาขาย แล้วจึงคำนวณว่าจะตั้งราคา ณ ระดับใดจึงจะ ได้กำไรตามเป้าหมาย

1.2 เพื่อได้ผลตอบแทนสูงสุด (Maximize Profit) คือการกำหนดราคาเพื่อ ให้ได้กำไรสูงสุดนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์จะพิจารณาตั้งราคาตรงจุดที่
ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย = รายได้เพิ่มต่อหน่วยคือ
Marginal Cost (MC) = Marginal Revenue (MR)

2. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านการขายแบ่งได้เป็น 3 อย่าง
คือ

2.1 เพื่อเพิ่มปริมาณการขาย (Increased Sales) คือการตั้งราคาให้ต่ำ แต่ต้องคำนึงด้วยว่าจะต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุน และควรเป็นราคาที่ทำให้ขาย
ได้มาก ที่สุด

2.2 เพื่อรักษาสัดส่วนของการถือครองตลาด (Maintain Market Share) คือการตั้งราคาเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้กำไรพอ สมควรแต่มียอดการจำหน่ายในสัดส่วนคงที่

2.3 เพื่อเพิ่มปริมาณการถือครองตลาด (Inereased Market Share) คือการตั้งราคาที่ทำให้ขยายส่วนถือครองตลาดให้สูงขึ้น คิดดึงเอา เปอร์เซ็นต์การถือครองตลาดของคู่แข่งขันมา วิธีการนี้อาจทำได้โดย การลดราคาสินค้าลง หรือที่เรียกว่าการตัดราคา

3. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาการรักษาเสถียรภาพของราคา
แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

3.1 เพื่อรักษาระดับราคาให้คงที่และไม่มีการพัฒนาด้านใดให้ดีขึ้น คงปล่อย ให้กิจการดำเนินไปเรื่อย ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง และคงขายสินค้าราคาคงที่ตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่นาน ๆ ครั้ง

3.2 เพื่อรักษาระดับราคาให้คงที่ แต่พยายามพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้นและผู้บริหารจะต้องพยายามแข่งขันในด้านส่งเสริมการตลาดให้ดีขึ้นด้วย โดยคงราคาไว้ ณ ระดับเดิมเป็นการแข่งขันโดยใช้วิธีอื่นซึ่งไม่ตัดราคา

วิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา

วิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา (Basic Methods of Setting Price) นิยมกันอยู่ทั่วไป
3 วิธีคือ
1. วิธีการตั้งราคาโดยยึดต้นทุนเป็นเกณฑ์
2. วิธีการตั้งราคาโดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์
3. วิธีการตั้งราคาโดยยึดการแข่งขันเป็นเกณฑ์

1. วิธีการตั้งราคาโดยยึดต้นทุนเป็นเกณฑ์ วิธีปฏิบัติมี 2 แบบคือ

1.1 ตั้งราคาโดยคิดต้นทุนบวกกำไร
ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนทั้งหมด + กำไรที่ต้องการ

จำนวนการผลิต วิธีนี้จะใช้ได้ต้องแน่ใจว่าจำนวนผลิตต้องเท่ากับจำนวนจำหน่าย ผู้ขายจึงจะมีกำไรตามที่ต้องการ
สำหรับพ่อค้าคนกลาง อาจจะบวกกำไรกับต้นทุนได้หลายลักษณะ เช่น
(กำไร)
- ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนต่อหน่วย + 10% ของราคาขาย
(กำไร)
- ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนต่อหน่วย + 10% ของราคาทุน

1.2 วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) เป็นจุดที่แสดงว่าปริมาณ ณ จุดของการผลิต หรือการจำหน่าย รายได้รวมจะเท่ากับต้นทุนรวมพอดี

สูตร จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ทั้งหมด
ราคาขายต่อหน่วย ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

2.วิธีการตั้งราคาโดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์การพิจารณาตั้งราคา
โดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์นั้น สามารถจำแนกได้เป็นลักษณะย่อย ๆ
ดังนี้

2.1 การตั้งราคาในตลาดผูกขาด

2.2 การตั้งราคาในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์

2.3การตั้งราคาในตลาดที่มีการแข่งขันน้อยรายระดับราคาที่เหมาะสมของสินค้า
ในตลาดทั้ง 3 ประเภทอาศัยแนวความคิดเดียวกัน คือ ผู้ผลิตต้องพยายามผลิต และขายในปริมาณที่ทำให้เกิดกำไรสูงสุด โดยสรุปได้ว่า ระดับราคาที่เหมาะสม อยู่ที่ปริมาณการผลิตที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มเท่ากับรายได้ส่วนเพิ่ม แต่ราคาจะต่างกัน ตามลักษณะเส้นอุปสงค์ของตลาดแต่ละประเภท

2.4 การตั้งราคาในตลาดที่มีความแตกต่างกันในด้านความต้องการซึ่งระดับราคา จะแตกต่างตามกรณี เช่น
- ลูกค้ามีมากกว่า 1 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีความต้องการสินค้าแตกต่างกัน กลุ่มใด มีความต้องการและความจำเป็นมาก ราคาจะสูงกว่ากลุ่มอื่น
- ลูกค้าแต่ละกลุ่มอยู่ห่างไกลกันทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับแต่ละ กลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันไปด้วย
- ช่วงเวลาที่ขายสินค้าแตกต่างกัน ระดับราคาสินค้าที่จำหน่ายในแต่ละช่วง เวลาจะไม่เท่ากัน เช่น รถรับ-ส่งสองแถว เป็นต้น

3. วิธีการตั้งราคาโดยยึดการแข่งขันเป็นเกณฑ์

การตั้งราคาโดยมุ่งพิจารณาที่การแข่งขัน เป็นวิธีการที่นักการตลาดเห็น
ความสำคัญของคู่แข่งขันมากกว่าความสำคัญของความต้องการของตลาดและ
ต้นทุน ลักษณะ ราคาเช่นนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อเอาชนะ
คู่แข่งขัน ระดับราคา ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกับคู่แข่งขัน อาจสูงกว่าหรือต่ำกว่า
ก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนถึงการตั้งราคาในลักษณะนี้ได้แก่

3.1 การกำหนดราคาตามคู่แข่งขัน
3.2 การกำหนดราคาโดยยื่นซองประมูล

นโยบายและกลยุทธในการกำหนดราคา (Price Policy and Strategy)

1. นโยบายเกี่ยวกับระดับราคาทั่ว ๆ ไป (The General Price Level)

1.1 นโยบายตั้งราคาเท่ากับราคาตลาดหรือคู่แข่ง
1.2 นโยบายตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาดหรือคู่แข่งขัน
1.3 นโยบายตั้งราคาต่ำกว่าราคาตลาดหรือราคาคู่แข่ง

2. แบบลักษณะของการตั้งราคา (Uniform Price)

2.1 ราคาคงที่หรือตายตัว (Fixed Price) คือการกำหนดราคาขายสินค้าหรือ
บริการ ให้ลูกค้าทุกคนในราคาเดียวกันหมดภายใต้สภาวะทางการค้าเดียวกัน
หรือคล้ายกันหรืออาจเรียกว่านโยบายราคาเดียว (One Price Policy)

2.2 ราคาต่อรอง (Negotiated Price) คือการกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการ
ให้ลูกค้า แต่ละรายในราคาที่แตกต่างกันแม้ว่าจะซื้อสินค้าหรือบริการในปริมาณ
ที่เท่ากัน และภายในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน เราอาจเรียกว่า นโยบายหลายราคา
(Flexible Price Policy)

2.3 ราคาควบคุม (Resale Price Maintenance) คือการกำหนดราคาขายปลีก
ที่แน่นอนของ บริษัทผู้ผลิตซึ่งกระทำได้โดยการติดราคาขายไว้ที่ตัวผลิตภัณฑ์เลย

3. นโยบายราคาเกี่ยวกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Pricing over Product Life Cycle)


3.1 การตั้งราคาแบบตักครีมหน้านม (Skimming Pricing) หมายถึงการตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าราคาปกติ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในกรณีดังนี้คือ

3.1.1 เป็นระระเริ่มแรกของการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีลักษณะดีเด่น
เป็นพิเศษออกตลาด

3.1.2 ต้องการให้ราคาเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพ

3.1.3 ไม่แน่ใจว่าต้นทุนจะเป็นเท่าไร

3.1.4 ผลิตภัณฑ์นั้นเข้าสู่ตลาดยากเพราะเป็นสินค้าที่ต้องใช้เงินลงทุน
จำนวนสูงมาก

3.1.5 เจาะตลาดเฉพาะลูกค้ากลุ่มที่มีรายได้สูงเท่านั้น

3.1.6 ราคาสินค้าไม่เป็นปัญหาในการตัดสินใจซื้อ

3.1.7 รักษาอุปสงค์ให้อยู่ในขอบข่ายของความสามารถ ในการผลิต เพื่อป้องกันสินค้าขาดตลาด

3.1.8 ต้องการตักตวงกำไรให้มากก่อนที่คนอื่นจะเข้ามาแข่งขัน



3.2 การตั้งราคาแบบเจาะตลาด (Penetration Pricing) หมายถึง การตั้งราคา สินค้าให้ต่ำกว่าราคาปกติ ใช้ได้ในกรณีดังนี้


3.2.1 ดึงดูดความสนใจและเชื้อเชิญให้สามารถซื้อมาทดลองใช้ได้

3.2.2 การขายราคาต่ำช่วยเพิ่มปริมาณการขาย ทำให้สามารถผลิตได้ ณ ระดับการผลิตที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดต่ำลง
3.2.3 เมื่อมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
3.2.4 ใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ
3.2.5 เป็นตลาดของผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

4. การตั้งราคาผลิตภัณฑ์หลายชนิด (Pricing Multiple Products)
เป็นการตั้งราคาโดยพิจารณาถึงผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การตั้งราคาจักรยานยนต์ขนาดต่าง ๆ เช่น ขนาด 90 ซีซี จะต้องคำนึงถึงจักรยานยนต์
ขนาดอื่น ๆ ด้วย เช่น 50 ซีซี, 75 ซีซี, 100 ซีซี

5. การประกวดราคา (Competitive Bidding)
เป็นการตั้งราคาที่มักจะใช้ในการจัดซื้อพัสดุอุปกรณ์ของหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งต้องใช้วิธีการคัดเลือกหาผู้เสนอขายที่ตั้งราคาต่ำสุด

6. การกำหนดราคาเชิงจิตวิทยา (Psychological Pricing) มีหลายแบบคือ

6.1 การตั้งราคาล่อใจหรือราคาผู้นำ (Leader Pricing) เป็นกลยุทธ์ ของร้านขายปลีกที่จะตัดราคาสินค้าบางชนิดให้ต่ำลง เพื่อเป็นการดึงดูดให้ผู้บริโภค สนใจเข้ามาในร้านเพื่อซื้อสินค้าที่ตั้งราคาต่ำไว้นั้นและในขณะเดียวกันก็จะซื้อ
สินค้าอื่นๆ ที่ตั้งราคาตามปกติไปด้วย

6.2 การตั้งราคาล่อเหยื่อ (Bait Pricing) ตั้งราคาสินค้าแบบใดแบบหนึ่ง ในระดับต่ำกว่าราคาตลาดมาก เพื่อให้สะดุดความสนใจของลูกค้าและเรียก เข้ามาในร้านเพื่อซื้อของถูกดังที่โฆษณาไว้หรือติดป้ายไว้ แต่อาจบิดเบือน
สาระสำคัญของราคานั้น

6.3 การตั้งราคาเป็นหน่วยใหญ่ (Multiple Package Pricing) ด้วยการ กำหนดราคาสินค้าที่ขายในหน่วยใหญ่ถูกกว่าหน่วยย่อย

6.4 การตั้งราคาแบบเลขคี่ (Odd Pricing) เป็นการตั้งราคา โดยกำหนดตัวเลขให้เป็นเลขคี่หรือเลขเศษ เพื่อให้รู้สึกว่าราคาต่ำ

6.5 การตั้งราคาให้มีศักดิ์ศรี (Prestige Pricing) เป็นการตั้งราคาโดย
ใช้ตัวเลขที่ ไม่ลงท้ายด้วยเลขศูนย์ หรือจำนวนเต็ม (มักใช้หลักหน่วยเป็น 3, 5
เช่น 155 293 บาท เป็นต้น) ซึ่งทำให้รู้สึกว่าของดีต้องราคาแพง

7. การประกันราคาที่อาจลดลง (Guaranty Against Price Decline)
เป็นนโยบายราคาที่ผู้ผลิตยินดีชดเชยค่าเสียหาย ให้กับตัวแทน หรือผู้ขายส่ง หรือขายปลีกในกรณีที่ต้องลดราคาผลิตภัณฑ์ลงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

8. แนวระดับราคา (Price Lining)กำหนดระดับราคาสินค้าประเภทเดียวกันให้ เหมาะสม
เช่น ราคากางเกงยีนส์ตรายี่ห้อหนึ่ง กำหนดราคาไว้ 3 ระดับ คือ 200, 290, และ 350 บาท

9. ราคาเช่าซื้อ (Outright Sales or Lease)เป็นนโยบายราคาที่ใช้กับสินค้าบางอย่าง ที่มีราคาสูงมากหรือมีอัตราการเสื่อมคุณภาพสูงหรือ อัตราการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม
สูงมาก ทำให้ผู้ซื้อไม่ต้องการลงทุนซื้อสินค้าเหล่านี้มาเป็นกรรมสิทธิ์

10. การตั้งราคาแบบราคาแตกต่าง (Price Differentials) โดยแบ่งพิจารณาได้ดังนี้คือ

10.1 การให้ส่วนลดปริมาณ (Quantity Discount) หมายถึง การลดราคาลงจาก
ราคาขายที่กำหนดไว้ โดยให้ส่วนลดตามปริมาณสินค้าหรือจำนวนเงินที่ซื้อ หากซื้อในจำนวนมากผู้ซื้อก็จะได้รับส่วนลดในอัตราที่สูงขึ้น
การให้ส่วนลดแบ่งออกเป็น 2 แบบ

ก. ส่วนลดปริมาณแบบไม่สะสม คือการให้ส่วนลดที่ขึ้นกับการซื้อแต่ละครั้ง
ข. ส่วนลดปริมาณแบบสะสม คือ การยินยอมให้ผู้ซื้อนำปริมาณการซื้อในช่วงระยะ
เวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้มาสะสมต่อเนื่องกันเพื่อให้ได้รับส่วนลดในอัตราที่สูงขึ้น

10.2 การให้ส่วนลดการค้า ( Trade Discount) หมายถึง การให้ส่วนลด แก่ลูกค้าที่ทำหน้าที่ทางการตลาดการ เช่น เขียนระบุว่าให้ส่วนลด 50%, 10%

10.3 การให้ส่วนลดเงินสด (Cash Discount) หมายถึง การให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อที่ ชำระเงินสดในทันทีหรือภายในเวลาที่กำหนด เช่น 3/10, n/30 หมายความว่าผู้ซื้อ
จะได้ส่วนลดอีก 3% ถ้าชำระเงินภายใน 10 วัน นับจากวันที่เขียนใบส่งสินค้า ถ้ามิฉะนั้นแล้วเขาจะต้องชำระหนี้เต็มจำนวนภายใน 30 วัน

10.4 ส่วนลดตามฤดูกาลและการลงวันที่ล่วงเวลา (Seasonal Discount and Forward Dating) การให้ส่วนลดตามฤดูกาลเป็นการให้ส่วนลดสำหรับสินค้าบางประเภท ที่สามารถขายได้เฉพาะบางฤดูกาลเท่านั้น

ส่วนลดตามฤดูกาลนิยมนำมาใช้สำหรับการขายในช่วงฤดูกาลที่ขายได้ดีอีกด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย และใช้เป็นเครื่องมือแข่งขันกับคู่แข่งขันในฤดูกาลที่ขายได้ ซึ่งความต้องการในตลาดมีมาก หากมีการลดราคาให้เป็นพิเศษย่อม สามารถสนองความต้องการเหล่านั้นได้เร็วขึ้น ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายและเร็วขึ้น เช่น ช่วงเปิดเทอม เครื่องเขียน แบบเรียน ชุดนักเรียน จะขายได้ดี และร้านค้าต่าง ๆ แข่งขัน
กันลดราคา และมีของแถม เป็นพิเศษ

10.5 การให้ส่วนยอมให้เพื่อส่งเสริมการขาย (Promotion Allowances)
หมายถึงการยอมลดราคาเป็นพิเศษให้แก่ลูกค้าที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ผลิต

การลงวันที่ล่วงหน้า (Forward Dating) เป็นการนำเอาส่วนลดตามฤดูกาล มาใช้ร่วมกับส่วนลดเงินสด เช่น บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้า เสื้อกันหนาว จะขอรับคำสั่งซื้อจากร้านสรรพสินค้าในระหว่างช่วงฤดูร้อน แต่ให้ชำระเงินในช่วง
ฤดูหนาว โดยให้ส่วนลดด้วย เช่น ผู้ซื้อ ซื้อวันที่ 1 พฤษภาคม 2530 แต่ลงวันที่ในบิล
เป็น 1 ธันวาคม 2530 มีเงื่อนไข 3/10,n/30 ซึ่งหมายความว่า ถ้าชำระเงินระหว่าง
วันที่ 1-10ธันวาคม 2530 จะได้ส่วนลด 30% ถ้ามิฉะนั้นแล้วต้องชำระเต็มจำนวน
ภายในวันที่ 30 ธันวาคม

11. การตั้งราคาโดยพิจารณาแข่งขัน

11.1 ตลาดผู้ขายมีน้อยราย (Oligopoly) ผู้ขายทั้งหลายจึงมักใช้วิธีร่วมกันกำหนดราคา

11.2 ตลาดแข่งขันเชิงผูกขาด (Monopolistic Competition) ตลาดลักษณะนี้มีจำนวน
คู่แข่งขัน หรือผู้ขายมากกว่าแบบแรกและพยายามแข่งขันกันโดยการสร้างความ แตกต่างในตัวสินค้าบริการ เพื่อให้เกิดการภักดีในสินค้าของตนเอง ฉะนั้นราคาจึงเป็น ปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้เห็นความแตกต่างของสินค้าบริการนั้น ๆ ลักษณะสินค้าและระดับ ราคาสินค้าในตลาดเช่นนี้ จึงไม่เป็นมาตรฐานเดียว

11.3 ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition) เป็นตลาดที่มี สินค้ามาตรฐาน และมีผู้ขายจำนวนมาก โอกาสที่จะทำให้ราคาสินค้ามีความแตกต่างจึงน้อยมาก

11.4 ตลาดผูกขาด (Monopoly) การเปลี่ยนแปลงราคาจะไม่ทำให้ยอดขายเปลี่ยน
แปลงมากนัก เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น

12. การตั้งราคาเชิงภูมิศาสตร์ (Geographic Price Policy) ที่นิยมปฏิบัติกันมี 3 ลักษณะ คือ


1. ราคา F.O.B (Free on Board)
2. ราคา C.I.F (Cost, Insurance and Freight)
3. ราคา C and F (Cost and Freight)


ราคา F.O.B ซึ่งย่อมาจากคำว่า Free on Board มีวิธีคิด 2 ลักษณะ
ก. F.O.B ณ จุดผลิต (F.O.B. Point of Production)
ข. F.O.B ณ ที่ตั้งผู้ซื้อ (F.O.B. Point of Buyers Location)

F.O.B ณ จุดผลิต เป็นราคาขายที่จะขายกัน ณ จุดผลิต ค่าขนส่งจากจุดผลิต ไปยังปลายทางผู้ซื้อนั้นผู้ซื้อต้องออกเองทั้งหมด

F.O.B ณ ที่ตั้งผู้ซื้อ เป็นราคาขายที่ขาย ณ ที่ตั้งผู้ซื้อ ผู้ขายเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งจากแหล่งผลิต จนถึงแหล่งที่ตั้งผู้ซื้อ ประเภทนี้จึงสูงกว่า F.O.B ณ จุดผลิตซึ่งคำว่าที่ตั้งผู้ซื้อ ยังสามารถแบ่งแยกออกได้ 4 ลักษณะ ได้แก่


1. ราคาส่งเดียวกัน (Uniform Delivered Price)ผู้ขายจะขายสินค้า ให้ผู้ซื้อในราคาเดียวกันหมด ไม่ว่าผู้ซื้อจะอยู่ที่ใดก็ตาม หมายถึงผู้ขาย จะเป็นผู้ออกค่าขนส่งทั้งหมด

2. ราคาที่ผู้ขายรับภาระค่าขนส่ง (Freight Absorption Price)
ผู้ขายคำนวณจากราคาสินค้า ณ โรงงานบวกกับค่าขนส่ง เท่ากับที่คู่แข่งขันคนที่อยู่ใกล้ตลาดมากกว่าจะคิดจากลูกค้าคนนั้น

3. ราคาสินค้าเท่ากันในเขตเดียวกัน (Zone Delivered Price)
ผู้ขายคิดราคาโดยแบ่งเป็นเขต ๆ แต่ละเขตราคาขายจะต่างกัน แต่ภายใต้เขตเดียวกันราคาขายจะเท่ากัน

4. ราคาจากจุดฐาน (Basing - Point Price)
เนื่องจากสินค้าบางอย่างมีแหล่งผลิตใหญ่ ๆ หลายแห่งด้วยกัน ผู้ผลิตทั้งหมดจึงรวมตัวกันใช้ระบบจุดรวม อาจใช้จุดเดียวหรือหลายจุดมาเป็นหลักในการพิจารณาตั้งราคา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะขายในราคาเดียวกันหมด ไม่ว่าจะซื้อจากแหล่งผลิตใด
จุดฐานนั้น หมายถึงเขตหรือแหล่งที่เลือกขึ้นมาเพื่อใช้ใน การคำนวณราคาส่งมอบของผู้ชายทุกคน


ราคา C.I.F. ซี่งย่อมาจากคำว่า Cost, Insurance and Freight หมายถึง ราคาส่งมอบซึ่งได้คิดต้นทุนสินค้าบวกค่าประกันสินค้าขณะขนส่ง และค่าขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อ
ราคา C and F ซึ่งย่อมาจากคำว่า Cost and Freight หมายถึง ราคาส่งมอบซึ่งคิดแต่เฉพาะ ค่าต้นทุนสินค้าบวกค่าขนส่ง ไม่คิดค่าประกันสินค้า

ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/admin/admin09/UntitledFrameset-total.htm

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

โฆษณาแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่

ตัวอย่างโฆษณาที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าของชีวิต

การส่งเสริการขาย

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)
หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ
1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
 1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
 1.2 การลดราคา (Price Off)
 1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
 1.4 การคืนเงิน (Rabates)
 1.5 การให้ของแถม (Premiums)
 1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
 1.7 การเสนอขายโดยรวมผลิตภัณฑ์ (Combination Offers)
 1.8 การแข่งขัน (Contest) และการชิงรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค (Sweeptakes)
 1.9 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)
 1.10 แสตมป์การค้าและแผนการต่อเนื่อง (Trading Stamp and Continuity Plan)
2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion) 2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
 2.2 ส่วนลด (Discount)
 2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
 2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
 2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
 2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion) 3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
 3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
 3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
 3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
 3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/admin/admin09/UntitledFrameset-total.htm

การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด

การโฆษณา หมายถึงรูปแบบการให้ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า บริการหรือความคิด โดยไม่ใช้บุคคลและต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อจูงใจโดยหวังผลทางด้านยอดขาย และสามารถระบุผู้เป็นเจ้าของชิ้นงานโฆษณานั้นได้

ประเภทของการโฆษณา
1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้
 1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)
 1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)
2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
 2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
 2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
 2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
 2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)
3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium) 3.1 ทางโทรทัศน์
 3.2 ทางวิทยุ
 3.3 ทางนิตยสาร
 3.4 โดยใช้จดหมายตรง
 3.5 นอกสถานที่
4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose) 4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน
 (Product Versus Institutional Advertising)
 4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า
 (Commercial Versus Noncommercial Advertising)
 4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้
 (Action Versus Awareness Advertising)

การตัดสินใจที่สำคัญในกระบวนการโฆษณา
  1. การตัดสินใจเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย หรือผู้ฟัง (Market) คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ฟัง ผู้ชม
  2. การตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา
     2.1 เพื่อแจ้งข่าวสาร (To Inform)
     2.2 เพื่อจูงใจ (To Persuade)
     2.3 เพื่อเตือนความจำ (To Remind)
  3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณการโฆษณา
  4. การตัดสินใจสร้างสรรงานโฆษณา
  5. การตัดสินใจเลือกสื่อโฆษณา ได้แก่ สื่อโฆษณา โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายตรง สื่อโฆษณานอกสถานที่
  6. การตัดสินใจการวิจัยและวัดผลการโฆษณา
การประชาสัมพันธ์
หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้
  1. การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)
  2. การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)
  3. การให้ข่าว (News)
  4. การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches)
  5. การให้บริการชุมชนและสังคม (Public and Social Services Activities)
  6. การใช้สื่อเฉพาะ (Identify Media)
ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/admin/admin09/UntitledFrameset-total.htm
 

เทคนิคการขายตรง

วิธีการเจรจาขายสินค้าให้กับลูกค้าจะไม่ใช่เรื่องยากหากผู้ประกอบการเข้าใจเทคนิคการขายที่แท้จริงเมื่อต้องไปหาลูกค้าถึงที


สิ่งหนึ่งที่ทำให้การขายตรงไม่ประสบความสำเร็จ คือ การที่ผู้ขายขาดศิลปะในการพูด
เชื่อว่าผู้ประกอบการคงจะคุ้นเคยกับวิธีการขายสินค้าในลักษณะการขายสินค้าแบบขายตรงกันมาแล้ว และหลายท่านอาจจะกำลังใช้วิธีนี้อยู่ เพราะค่อนข้างง่ายและใช้ต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับแนวทางการตลาดวิธีอื่นๆ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงพักหลังๆนี้แนวทางการขายตรงกลับมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จที่ค่อนข้างจะลดลงอันมีสาเหตุหลักมาจากทัศนคติที่ไม่ดีของผู้บริโภคอันสืบเนื่องมาจากการขาดศิลปะี่ดีของฝ่ายผู้ประกอบการเอง ดังนั้นวันนี้ INCquity จึงเอาเคล็ดลับดีๆในการขายตรงให้ประสบความสำเร็จมาฝากผู้ประกอบการกัน โดยมี 8 ขั้นตอนดังต่อไปนี้


1. หาข้อมูลลูกค้าขั้นตอนแรกผู้ประกอบการจะต้องมีฐานข้อมูลลูกค้าก่อนในเบื้องต้น จากนั้นก็จึงเจาะลึกในรายละเอียดของแต่ละคนว่ามีลักษณะทางบุคลิกภาพแบบไหน ทำธุรกิจอะไร สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ งานอดิเรกชอบทำอะไร เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลมาพอสมควรแล้วผู้ประกอบการอาจจะทำการร่างแผนเค้าโครงบทสนทนากับลูกค้าขึ้นมา โดยบทสนทนานอกจากจะต้องอิงกับฐานข้อมูลลูกค้าแล้ว ยังต้องตอบโจทย์ 3 ข้อ คือ เป้าหมายสูงสุดของการขายครั้งนี้คืออะไร สิ่งที่ผู้ประกอบการค้นหาในระหว่างสนทนาคืออะไร และขั้นตอนต่อไปหลังจากจบการขายคืออะไรด้วย


2. ทำความรู้จักกับลูกค้าผู้ประกอบการจะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเพื่อเป็นการให้เกียรติกับลูกค้า และแนะนำตัวด้วยวาจาและอากัปกริยาที่สุภาพ รวมถึงอาจหิ้วของกำนัลเล็กๆน้อยๆไปฝากเพื่อสร้างความประทับใจแต่แรกพบ ทั้งนี้ผู้ประกอบการไม่ควรเริ่มเปิดการขายตั้งแต่ต้นบทสนทนาเพราะการกระทำดังกล่าวดูจะบ่งบอกเจตนาเกินไป ทำให้ถ้าลูกค้าเขาไม่สนใจสินค้าของผู้ประกอบการจริงๆ เขาก็มีแนวโน้มจะปฏิเสธมากกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรจะพูดคุยในแง่ทำความรู้จักเสียก่อน อาจจะใช้ข้อมูลที่เตรียมมาให้เป็นประโยชน์ หรือหากไม่มีข้อมูลลูกค้ามากนัก ผู้ประกอบการอาจใช้วิธีสังเกตภาพถ่ายและถ้วยรางวัลต่างๆและซักถามเพื่อหาเรื่องชวนคุยเพื่อสร้างความคุ้นเคยและสนิมสนม แต่ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงเรื่องการเมืองโดยเด็ดขาด ที่สำคัญคือระหว่างสนทนานั้นท่านต้องเป็นผู้ฟังที่ดีมากกว่าที่จะเป็นผู้พูดด้วย


3. คัดกรองประเมินคุณสมบัติหลังจากพูดคุยทำความคุ้นเคยมาได้สักระยะแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือผู้ประกอบการต้องเริ่มตรวจสอบอำนาจการตัดสินใจของลูกค้าที่กำลังสนทนาอยู่ด้วยว่าเขามีอำนาจมากขนาดไหน ถ้าเขามีอำนาจในการตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียวก็ถือว่าโชคดีมากเพราะกำลังคุยถูกคน แต่ถ้าไม่ ท่านต้องพยายามโน้มน้าวให้ผู้บริโภคที่กำลังสนทนาอยู่กับท่านไปจูงใจผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังต้องพูดคุยเพื่อซักถามหาข้อมูลในเรื่องความต้องการ จำนวนงบประมาณ และกรอบเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจของผู้บริโภคด้วย เพื่อจะสามารถกำหนดรูปแบบการสนทนาเพื่อการขายสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้านั่นเอง


4. ถามคำถามที่ละเอียดมากขึ้นหลังจากได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้วในขั้นตอนนี้ผู้ประกอบการจะต้องค่อยๆถามคำถามที่ลงรายละเอียดมากขึ้น โดยอาจเป็นคำถามในลักษณะปลายเปิดเพื่อให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็นออกมา และคำตอบที่ได้จะเป็นข้อมูลที่ดีของผู้ประกอบการในการตีกรอบและนำพาการสนทนาเข้าสู่การขายสินค้าและบริการของท่าน เช่น ถามเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กร หลักการบริหาร สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ความเสี่ยง ต้องการความช่วยเหลือในด้านอะไรมากที่สุด ปัญหาทางการเงินที่เจอคืออะไร ปัญหาในการผลิตสินค้าเป็นยังไง เป็นต้น


5. นำเสนอทางแก้ปัญหาจากปัญหาต่างๆที่ลูกค้าได้บอกเล่าให้ฟัง ก็ถึงคราวที่ผู้ประกอบการจะนำเสนอวิธีที่ท่านจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้ไม่ว่าจะด้วยสินค้าหรือบริการก็แล้วแต่ด้วยความใจเย็นและมีเหตุผลน่าเชื่อถือ พร้อมทั้งแสดงวิสัยทัศน์และขั้นตอนในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างชัดเจน


6. เปิดการขายอย่างมีศิลปะพอนำเสนอทางออกให้ลูกค้าได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือการเปิดการขายนั่นเอง โดยผู้ประกอบการต้องอธิบายให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากผลิตภัณฑ์และบริการจากบริษัทของผู้ประกอบการ ว่ามันสามารถช่วยแก้ปัญหาได้มากขนาดไหน และตอบสนองความต้องการได้อย่างไร อีกทั้งชี้ให้เห็นถึงภาพรวมในทางบวกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยพยายามทำให้ลูกค้าตระหนักและมองเห็นความสำคัญมากที่สุดจนจะต้องรีบซื้อมาใช้โดยทันที


7. ปิดการขายเมื่อลูกค้าเห็นว่าผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการสามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับธุรกิจของเขาได้จริง ลูกค้าก็จะเริ่มสนใจรายละเอียดการซื้อขายว่ามีลักษณะใดบ้าง ทั้งจ่ายเป็นเงินสดหรือการผ่อนชำระ ซึ่งหากผู้ประกอบการมีทางเลือกและความยืดหยุ่นให้ผู้บริโภคมากเท่าไหร่ก็สามารถปิดการขายให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยเวลาที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้หากเป็นในทางตรงข้ามคือถ้าลูกค้าไม่ได้ตัดสินใจซื้อก็ขออย่าให้ถอดใจ เพราะไม่แน่ว่าวันข้างหน้าเขาอาจต้องการสินค้าและบริการของท่านขึ้นมา ดังนั้นหลังจากเจรจาแล้ว ผู้ประกอบการก็ควรหมั่นส่งเอกสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการให้ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่หากเขาจำเป็นต้องใช้ขึ้นมาเขาจะได้นึกถึงท่านเป็นคนแรก


8. บริการหลังการขายการขายสินค้าได้ไม่ได้หมายความว่างานของผู้ประกอบการจะสิ้นสุดลงแล้ว เพราะในความเป็นจริงมันกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของงานบริการหลังการขายที่จะกินระยะเวลายาวนานจนกว่าผู้บริโภคจะเลิกใช้สินค้าและบริการจากท่านนั่นเอง ผู้ประกอบการจึงต้องหมั่นสอบถามความพึงพอใจและหาจุดบกพร่องเพื่อเร่งแก้ไข รวมไปถึงแจ้งข้อมูลข่าวสารและสิทธิพิเศษไปยังสมาชิกกลุ่มผู้บริโภคอยู่อย่างสม่ำเสมอ


ทั้งนี้ 8 ขั้นตอน ที่ได้แนะนำไปนั้นจะไม่สามารถสัมฤทธิ์ผลได้เลย หากสินค้าและบริการของผู้ประกอบการไม่มีคุณภาพและไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นก่อนที่จะหันมาพัฒนาเทคนิคการขายตรงให้กับตัวท่านเอง ขอให้ลองมองย้อนกลับไปดูที่ตัวสินค้าและบริการก่อนว่าดีพอแล้วหรือยัง ถ้ามันอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพร้อมแล้วการดำเนินการตามเทคนิค 8 ขั้นตอน ก็จะยิ่งง่ายขึ้นไปอีกหลายเท่าตัวนัก

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

4p คือ อรไรบ้าง

1. Product ก็คือสินค้าหรือบริการที่เราจะเสนอให้กับลูกค้า แนวทางการกำหนดตัว product ให้เหมาะสมก็ต้องดูว่ากลุ่มเป้า หมายต้องการอะไร เช่นต้องการน้ำผลไม้ที่ สะอาด สด ในบรรจุภัณฑ์ถือสะดวก โดยไม่สนรสชาติ เราก็ต้องทำตามที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่ว่าเราชอบหวานก็จะพยายามใส่น้ำตาลเข้าไป แต่โดยทั่วไปแนวทางที่จะทำสินค้าให้ขายได้มีอยู่สองอย่างคือ

1.1 สินค้าที่มีความแตกต่าง โดยการสร้างความแตกต่างนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้จริงว่าต่างกันและ ลูกค้าตระหนักและชอบในแนวทางนี้ เช่นคุณสมบัติพิเศษ รูปลักษณ์ การใช้งาน ความปลอดภัย ความคงทนโดยกลุ่มลูก ค้าที่เราจะจับก็จะเป็นลูกค้าที่ไม่มีการแข่งขันมาก (niche market)

1.2 สินค้าที่มีราคาต่ำนั่นคือการยอมลดคุณภาพในบางด้านที่ไม่สำคัญลงไป เช่นสินค้าที่ผลิตจากจีน จะมีคุณภาพไม่ดี นักพอใช้งานได้ แต่ถูกมากๆหรือ สินค้าที่เลียนแบบแบรนด์ดังๆ ในซุปเปอร์สโตรต่างๆ จริงๆแล้วสำหรับนักธุรกิจมือ ใหม่ควรเลือกในแนวทาง สร้างความแตกต่างมากกว่า การเป็นสินค้าราคาถูกเพราะ หากเป็นด้านการผลิตแล้วรายใหญ่ จะมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่ารายย่อย แต่หากเป็นด้านบริการ เราอาจจะเริ่มต้นที่ราคาถูกก่อน แล้วค่อยๆ หาตลาดที่ราย ใหญ่ไม่สนใจ

2. Price ราคาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญในการตลาด แต่ไม่ใช่ว่า คิดอะไรไม่ออกก็ลดราคาอย่างเดียวเพราะการลดราคาสินค้า อาจจะไม่ได้ช่วยให้การขายดีขึ้นได้ หากปัญหาอื่นๆยังไม่ได้รับการแก้ไข การตั้งราคาในที่นี้จะเป็นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์ และกลุ่มเป้าหมายของเรา เช่นหากเราขายน้ำผลไม้ที่จตุจักร ราคาอาจจะต้องถูกหน่อย แต่หากขายที่สยาม หากตั้ง ราคาถูกไปเช่น 10 บาท กลุ่มที่เป็นเป้าหมายอยากให้ซื้ออาจจะไม่ซื้อ แต่คนที่ซื้ออาจจะเป็นคนอีกกลุ่มซึ่งมีน้อยกว่า และไม่คุ้ม ที่จะขายแบบนี้ในสยาม ยิ่งไปกว่านั้นหากราคา และรูปลักษณ์สินค้าไม่เข้ากัน ลูกค้าก็จะเกิดความข้องใจและอาจจะกังวลที่จะซื้อ เพราะราคาคือตัวบ่งบอกภาพลักษณ์ของสินค้าที่สำคัญที่สุด อย่างไรก็ตาม ในด้านการทำธุรกิจขนาดย่อมแล้ว ราคาที่เราต้องการ อาจไม่ได้คิดอะไรลึกซึ้งขนาดนั้น แต่จะมองกันในเรื่องของตัวเลข ซึ่งจะมีวิธีกำหนดราคาง่ายต่างๆดังนี้

2.1 กำหนดราคาตามลูกค้า คือการกำหนดราคาตามที่เราคิดว่า ลูกค้าจะเต็มใจจ่าย ซึ่งอาจจะได้มาจากการทำสำรวจ หรือแบบสอบถาม

2.2 กำหนดราคาตามตลาด คือการกำหนดราคาตามคู่แข่งในตลาด ซึ่งอาจจะต่ำมากจนเราจะมีกำไรน้อยดังนั้นหาก เรา คิด ที่จะกำหนดราคาตามตลาด เราอาจจะต้องมานั่งคิดคำนวณย้อนกลับว่า ต้นทุนสินค้าควร เป็นเท่าไรเพื่อจะได้กำ ไร ตามที่ตั้งเป้า แล้วมาหาทางลดต้นทุนลง

2.3 กำหนดราคาตามต้นทุน+กำไร วิธีนี้เป็นการคำนวณว่าต้นทุนของเราอยู่ที่เท่าใด แล้วบวกค่าขนส่ง ค่าแรงของเรา บวกกำไร จึงได้มาซึ่งราคา แต่หากราคาที่ได้มาสูงมาก เราอาจจำเป็นต้องมีการทำประชาสัมพันธ์ หรือปรับภาพลักษณ์ ให้เข้ากับราคานั้น



3. Place คือวิธีการนำสินค้าไปสู่มือของลูกค้า หากเป็นสินค้าที่จะขายไปหลายๆแห่ง วิธีการขายหรือการกระจายสินค้าจะมีความ สำคัญมาก หลักของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่ขายให้มากสถานที่ที่สุดจะดีเสมอ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า สินค้าของท่านคือ อะไร และกลุ่มเป้าหมายท่านคือใคร เช่นของใช้ในระดับบน ควรจะจำกัดการขายไม่ให้มีมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เสียภาพ ลักษณ์ได้สิ่งที่เราควรจะคำนึงอีกอย่างของวิธีการกระจายสินค้าคือต้นทุนการกระจายสินค้า เช่นการขายสินค้าใน 7-eleven อาจจะ กระจายได้ทั่วถึง แต่อาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่า หากจะกล่าวถึงธุรกิจที่เป็นการขายหน้าร้าน Place ในที่นี้ก็คือ ทำเล ซึ่งก็ควรเลือกที่ ให้เหมาะสมกับสินค้าของเราเช่นกัน อย่าง มาบุญครองกับ สยามเซ็นเตอร์ จะมีกลุ่มคนเดินที่ต่างออกไปและลักษณะสินค้าและ ราคาก็ไม่เหมือนกันด้วยทั้งๆที่ตั้งอยู่ใกล้กัน ท่านควรขายที่ใดก็ต้องพิจารณาตามลักษณะสินค้า


4. Promotion คือการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อบอกลูกค้าถึงลักษณะสินค้าของเรา เช่นโฆษณาในสื่อต่างๆ หรือการทำกิจกรรม ที่ทำให้คนมาซื้อสินค้าของเรา เช่นการทำการลดราคาประจำปี หากจะพูดในแง่ของธุรกิจขนาดย่อม การโฆษณาอาจจะเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นเพราะจะต้องใช้เงิน จะมากหรือน้อยก็ ขึ้นกับ ช่องทางที่เราจะใช้ ที่จะดีและอาจจะฟรีคือ สื่ออินเตอร์เนต ซึ่งมีผู้ใช้เพิ่มจำนวนขึ้นมากในแต่ละปี สื่ออื่นๆที่ถูกๆ ก็จะเป็นพวก ใบปลิว โปสเตอร์ หากเป็นสื่อท้องถิ่นก็จะมี รถแห่ วิทยุท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิธีในการเลือกสื่อนอกจากจะดูเรื่องค่าใช้จ่าย แล้วควรดูเรื่องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่นหากจะโฆษณาให้กลุ่มผู้ใหญ่ โดยเลือกสื่ออินเตอร์เนต(เพราะฟรี) ก็อาจจะเลือก เวบไซต์ที่ผู้ใหญ่เล่น ไม่ใช้เวบที่วัยรุ่นเข้ามาคุยกัน เป็นต้น
ที่มา   http://www.nanosoft.co.th/maktip01.htm

กลยุทธิ์การตลาดและการขาย

กลยุทธิ์ MK สุกี้

เอ็มเคสุกี้ กำเนิดจากการที่คุณป้าทองคำ เมฆโต (แม่ยายของคุณฤทธิ์ ธีระโกเมน) ที่เป็นลูกจ้างร้านอาหารไทยชื่อ ร้านอาหารเอ็มเค ที่เจ้าของเป็นคนจีนฮ่องกง คือ นางมาคอง คิงยี (Makong King Yee) อันเป็นที่มาของชื่อร้าน MK นางมาคองเปิดร้านได้เพียงปีเศษก็คิดจะเลิกกิจการจึงเซ้งร้านให้กับคุณป้าทองคำ เมฆโต ซึ่งในเวลานั้นเป็นเพียงลูกจ้างอยู่หลังร้านเท่านั้น และไม่มีเงิน แต่ท้ายที่สุดเธอก็ยอมเซ้งร้านต่อด้วยข้อเสนอการผ่อนจ่ายและเริ่มมาบริหารจัดการเองในฐานะเจ้าของร้านอาหาร
ร้านของคุณป้าทองคำขายดิบขายดีและเป็นที่รักของลูกค้าย่านสยามเพราะการที่ป้าแกเป็นคนอัธยาสัยดี กระทั่งกิจการเติบโตและขยายสาขาเพิ่มที่เซ็นทรัลลาดพร้าวในชื่อร้าน กรีนเอ็มเค โดยให้ลูกสาวคนโตดูแลกิจการ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ทั้งสองแม่ลูกได้พบกับเจ้าสัวสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ผู้ได้เห็นหน่วยก้านและความขยันขันแข็งของสองแม่ลูกจึงเชิญชวนให้มาเปิดร้านสุกี้ในห้างเซ็นทรัลเพราะห้างเซ็นทรัลในขณะนั้นขาดเพียงแต่ร้านสุกี้อย่างเดียว นี่เป็นจุดเริ่มต้นของร้านสุกี้ที่ป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศไทยในชื่อ เอ็มเคสุกี้
ในการทำสุกี้ในร้านสุกี้เอ็มเคนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนมากเท่าการทำร้านอาหารไทย ป้าทองคำจึงให้ลูกสาวคนโตคือ คุณยุพิน ธีระโกเมนกับสามีคุณฤทธ์ ธีระโกเมนพร้อมด้วยลูกชายเป็นผู้บริหาร คุณฤทธ์ ในฐานะผู้บริหารในขณะนั้นไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องการทำร้านอาหารมาก่อน จะมีก็เพียงประสบการณ์การบริหารร้านหนังสือที่ชื่อซีเอ็ดบุ๊คเท่านั้น แต่ปัจจุบันเอ็มเคสุกี้มีสาขาเกิบ 300 สาขาทั่วประเทศไทย และเป็นเป็นแบรนด์ไทยที่ได้ไปแจ้งเกิดในตลาดที่หินอย่างประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จ รวมถึงประเทศสิงคโปร์และประเทศเวียดนามด้วย
ต่อไปนี้เป็นข้อคิดดีๆ จากคุณฤทธิ์ ธีระโกเมน

การสร้างบริษัทก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ถ้าพันธ์ดีก็จะโตเร็ว ยิ่งถ้าได้ดินดีและปุ๋ยดีก็ยิ่งดีใหญ่ ผมนั่งดูการบริหารของทั้งแบบฝรั่ง จีน และไทย จึงดึงเอาจุดดีของแต่ละชาติ แต่ละสไตน์ออกมา และพยายามอุดช่องโหว่วัฒนธรรมหนึ่งด้วยวัฒนธรรมหนึ่ง

ควรมีการเตรียมตัวที่ดี มีผู้ใหญ่คอยชี้แนะเรื่องการทำธุรกิจ “ผมไม่ใช่นักวิจัย ไม่ใช่นักการตลาด แต่ผมคือนักการจัดการมากว่า เริ่มจากการที่เรามีใจเป็น Entrepreneur บริหารงานบนคอนเซ็บที่ถูกต้อง และมีผู้ใหญ่คอยชี้ทาง”
เอ็มเคทำธุรกิจบนหลัก “ผู้ประกอบการต้องพึ่งพาตนเอง” คือ ทำธุรกิจด้วยเงินตัวเอง พยามไม่ก่อหนี้ยืมสิน
การบริการเป็นหัวใจสำคัญ ข้อแรก ต้องสร้างความพอใจให้ลูกค้า สอง ถ้าลูกค้าไมพอใจต้องน้อมรับ สาม จะต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ตัวอย่างที่ดี คือ การพัฒนาจากการใช้แก็สมาเป็นเตาไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของลูกค้า การเสิร์ฟผักที่ไม่ต้องให้ลูกค้าหักเองเพราะอาจจะมีเชื้อโรคที่มือ จึงมีการตัดผักให้ แต่จะไม่ตัดเป็นกองๆ เดี๋ยวจะหาว่าเอาเศษผักมาขาย เอ็มเคจึงเรียงให้เห็นเป็นต้นผักจริงๆ
นอกจากน้ำจิ้มแล้ว จุดขายที่โดดเด่นอื่นๆ เช่น การนำเป็ดย่าง ขนมจีบและซาลาเปามาขายในร้านนั้น ซึ่งในขณะนั้นหาทานได้ไม่ง่ายนักก็ถือเป็นจุดเด่นของร้านเอ็มเคเช่นกัน
มีการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า สร้าง Personality และที่สำคัญในธุรกิจบริการจะต้องมี Service mind และมีความโปร่งใส เช่น กุ้งที่ลูกค้ารับประทานนั้นใช้กุ้งอะไร มาจากไหน อันนี้ต้องตอบได้ และสามารถพาลูกค้าไปดูโรงงานได้
มีการเรียนรู้และนำ Good practice มาปฏิบัติ
ต้องจัดลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ไม่ใช่จากเร่งด่วนมากไปหาเร่งด่วนน้อย
มีนวตกรรมใหม่ๆ และมีการพัฒนาตลอดเวลา เช่น การวางระบบเตาไฟฟ้าที่มีความปลอดภัย การใช้กระจกนิรภัย การที่สุกี้มีจานมาก ดังนั้นคุณฤทธิ์จึงสร้างชั้นแบบปิ่นโตเพื่อให้วางของได้มากขึ้น ตลอดจนการนำ PDA มาใช้ในการจดเมนู เป็นต้น
เอ็มเคเป็นร้านอาหารที่อยู่ระหว่าง Fast Food กับ Family Restaurant โดยการสร้างบรรยากาศให้ลูกค้ารู้สึกสบาย และได้มีโอกาสสังสรรค์กับครอบครับ โดยมี Keyword คือ ช่วงเวลาแห่งความอบอุ่น
เอ็มเคมีแนวคิดเกี่ยวกับเฟรนด์ไชว่า ระบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับประเทศไทย การทำเองสามารถควบคุมคุณภาพได้ดีกว่า แต่การเปิดตลาดที่ญี่ปุ่น เพราะคนที่นำไปเป็นคนท้องถิ่นจึงรู้ตลาดของเขาดีพอ รู้จักพฤติกรรมการทานอาหารของคนของเขาเป็นอย่างดี เช่น จานชามที่ญี่ปุ่นต้องใช้เซรามิค ไม่ใช้เมลามีน และตะเกียบจะต้องมีลักษณะเฉพาะมือ เป็นต้น
ดูว่าสิ่งไหนที่เราทำได้ จงทำ แต่ถ้ำทำไม่ได้ก็ซื้อเขาดีกว่า คือ ให้ระบบโดยรวมอยู่ได้ มีคุณภาพและมีศักยภาพที่จะแข่งขันได้ในระดับสากล

มีการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาเสมอ เช่น น้ำที่ใช้เตาไฟฟ้าจะเดือดช้ากว่าเตาแก็สถึง 8 นาที อันที่จริงก็ไม่มีกฎอะไรบอกให้ใส่น้ำซุปที่อุณภูมิปกตินี่ คุณฤทธ์จึงแก้ปัญหาด้วยการอุ่นน้ำซุปก่อนเสิร์ฟที่ 70 องศา ทีนี้ เตาไฟฟ้าจะเดือดช้ากว่าเตาแก็สเพียง 1 นาทีเท่านั้น ซึ่งเพียงพอที่ผู้บริโภคจะรับได้
มีการจัดการเรื่อง Logistic ที่ดีโดยมีครัวกลาง อาหารทุกประเภทจะถูกรวมอยู่ที่เดียว แล้วจึงเอารถรับไปส่งที่ร้านเอ็มเคจากจุดเดียว

นอกจากการป็นร้านอาหารที่เติบโตอย่างต่อเนื่องแล้ว เอ็มเคยังคงให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานเดิมไว้ โดยยังเน้นความสะอาด และความปลอดภัยของลูกค้าเป็นสำคัญ ตลอดจนความจริงใจกับลูกค้า สิ่งเหล่านี้หลอมรวมเป็น MK Character

แม้จะเผชิญกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แต่เอ็มเคก็ผ่านมาได้อย่างไม่สะทกสะท้านด้วยการแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด เช่น การติดตั้งระบบ GPS เพื่อนำทางการขนส่งและจำกัดความเร็วที่ไม่เกิน 90 กม./ชม. เพื่อลดอุบัติเหตุ และทำให้ประหยัดน้ำมันได้ถึง 10 เปอร์เซ็น การใช้มะนาวบีบใส่ขวดแทนการใช้มะนาวเป็นลูกช่วยให้ประหยัดได้ถึง 20 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้เอ็มเคยังพัฒนาความปลอดภัยของอาหารให้ได้มาตรฐานโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ให้การรับรองรวมทั้งการได้รับมาตรฐานสากลอย่าง GMP HACCP ISO 9001 : 2000 เป็นต้น
มีการฝึกอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการทำคู่มือมาตรฐานสำหรับพนักงานเพื่อให้พนักงานทราบว่าต้องปฏิบัติอย่างไรในมาตรฐานเดียวกันและเป็นที่สำหรับการอ้างอิงได้ เพื่อการบริการที่เป็นเลิศ (Service Excellence)
การหลีกเลี่ยงความล้มเหลวโดยการศึกษาความล้มเหลวผิดพลาดของคนอื่นเพื่อจะได้ไม่ล้มเหลวอย่างรุนแรง

เลือกสินค้าที่โดนใจคนในสังคมอย่างสม่ำเสมอ ไม่เสียเวลากับสินค้าที่ไม่มีอนาคต
จะต้องคิดให้กระจ่างว่าเราต้องเก่งและชำนาญในเรื่องอะไรบ้างสำหรับธุรกิจที่ทำอยู่ ต้องขวานขวายหาความรู้และฝึกฝนความรู้นั้นๆ ให้ช่ำชองจนเป็นฝีมือ และให้เข้าสู่ระดับที่เป็นที่ยอมรับให้ได้ว่า “เป็นมืออาชีพ” (Professional)

ปัจจุบัน มีความไม่เป็นมืออาชีพในธุรกิจต่างๆ รอบตัวเรามากมาย เช่น คนขับเท๊กซี่ที่ไม่มีมารยาท ปั้มน้ำมันที่ห้องน้ำสกปรกและมักทำน้ำมันหกใส่รถ ร้านอาหารที่มาช้าจนหายไปเลย โรงเรียนที่สอนแล้วลูกเราไม่รู้เรื่อง ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แหละคือโอกาส
ต้องมีการปรับสมดุล ไม่ตั้งราคินค้าสูงเกินไปจนลูกค้าไม่พอใจ แต่ก็ไม่ต่ำจนธุรกิจอยู่ไม่ได้ การซื้อวัตถุดิบก็ต้องไม่แพงจนต้นทุนสูง แต่ก็ไม่ถูกจนผู้ขายวัตถุดิบอยู่ไม่ได้ กำไรที่ได้จากธุรกิจจะต้องเอามาแบ่งสรรปันส่วนอย่างยุติธรรมแก่ผู้ลงทุน พนักงาน แบ่งบางส่วนไว้สำหรับการพัฒนาธุรกิจสำหรับอนาคต และบางส่วนเพื่อช่วยเหลือสังคม

ความสมหวัง กับ ผิดหวัง  มีสมการคือ ความจริง ลบ ความคาดหวัง ถ้าความคาดหวังสูงกว่าความจริง ผลคือ ความผิดหวัง แต่ถ้าความคาดหวังต่ำกว่าความจริง ผลคือ ความสมหวังนั่นเอง

























































































การตลาด

การตลาด คือกระบวนการที่บริษัทจะพิจารณาว่าสินค้าหรือบริการตัวใดที่จะเป็นที่สนใจของลูกค้าและกลยุทธ์ที่จะใช้ในการขาย การสื่อสารและการพัฒนาธุรกิจ[1] นี้เป็นกระบวนการผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อสร้างคุณค่าให้ลูกค้าและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แข็งแกร่งเพื่อที่จะสร้างคุณค่าในสายตาลูกค้าเป็นผลตอบแทน
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94